การบริหารจัดการนวัตกรรม
ความท้าทายและความมุ่งมั่น
ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น และการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในท้องตลาด ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายและโอกาสอันดีของบริษัทฯ ที่จะคิดค้นและวิจัยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังสามารถหาช่องทางต่อยอดธุรกิจไปสู่ตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคได้อย่างเต็มที่ ตลอดจนพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสูงสุด และปล่อยมลพิษน้อยที่สุด
เป้าหมายการดำเนินงาน
2.55 ล้านบาท
ในปี 2567
บริษัทฯ ดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งพัฒนางานวิจัยและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ่านการบริหารจัดการนวัตกรรม 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) และการพัฒนานวัตกรรมในกระบวนการผลิต (Process Innovation)
นวัตกรรมแบบเปิด
บริษัทฯ สร้างเครือข่ายด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ตลอดจนตอบโจทย์ธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยการลงทุนและทำการวิจัยร่วมกับคู่ค้าทางธุรกิจและหน่วยงานภายนอก อาทิ สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษา เป็นต้น เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยในปี 2567 บริษัทฯ มีโครงการนวัตกรรมแบบเปิดที่โดดเด่น อาทิ
โครงการ การศึกษาและวิจัย ด้านการบริหารจัดการความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บริษัทฯ ได้มีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโครงการการศึกษาและวิจัยด้านการบริหารจัดการความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ โดยมีเป้าหมาย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการติดตาม และมอบหมายนโยบายในการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เพื่อใช้ในการวางกลยุทธ์ด้าน Decarbonization และ Product stewardship โดยอ้างอิงตามทิศทางกลยุทธ์การดำเนินงานด้าน Sustainable Product ของบริษัทฯ ผลที่ได้จากการดำเนินงานช่วยให้บริษัทฯ ทราบถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มความสมบูรณ์ให้กับการจัดทำ Carbon footprint Product และ Carbon footprint organization ซึ่งเดิมมีการจัดทำอยู่แล้ว และการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ช่วยสนับสนุนบริษัทฯ ในการวางกลยุทธ์ด้าน Decarbonization เช่น การคิดกลยุทธ์ในการจัดทำ Portfolio ผลิตภัณฑ์ใหม่ (Re-thinking Portfolio Strategy) การดำเนินงานด้านพลังงานที่ควรวิจัยและพัฒนา (R&D of existing BAU) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง (High Value Product Development) และผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ (New Product Development) เป็นต้น การจัดทำการประเมินวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ไม่เพียงแต่เป็นการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ยังเป็นการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น Human Toxicity Terrestrial acidification และ Marine ecotoxicity เป็นต้น ซึ่งในการประเมินปีนี้ ทาง GGC ได้มีการดูถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกว่า 18 ผลกระทบ นำมาซึ่งความชัดเจนและความเข้าใจต่อผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ รวมถึงแสดงเจตรมย์ของบริษัทฯ ที่มุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และธุรกิจที่สอดรับต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

โครงการพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพชนิดติดไฟยากจากน้ำมันปาล์ม และนำร่องการทดสอบภาคสนามเชิงบูรณาการ เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน (Development of Less Flammable Bio-Transformer Oil From Palm Oil and Integrated Pilot Field Test to Promote Its Commercial And Sustainable Use)

บริษัทฯ ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) ในการคิดค้นนวัตกรรมเปิด และพัฒนาโครงการนำร่องการผลิตน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพชนิดติดไฟยากจากน้ำมันปาล์ม พร้อมทั้งนำร่องการทดสอบภาคสนามเชิงบูรณาการ เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยีที่คิดค้นในประเทศไทย และทดสอบการใช้จริงภาคสนาม ผ่านความร่วมมือกับหลายภาคส่วนที่เป็นองค์กรหลักในอุตสาหกรรมน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า และผู้ใช้งานหลักของหม้อแปลงไฟฟ้าของประเทศ อย่างการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) รวมทั้งหน่วยงานจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งนี้บริษัทฯ เป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนโครงการร่วมกับหน่วยงานจากภาครัฐโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) มีเงินทุนสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชนรวมกว่า 27 ล้านบาท โครงการนี้ใช้เวลาดำเนินการทั้งหมด 3 ปี ในปีที่ 2 โครงการสามารถพัฒนาต้นแบบระบบการผลิต และสามารถผลิตน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพได้ 300 ลิตรต่อวัน และในปี 2567 มีการดำเนินการทดสอบการใช้งานจริงภาคสนาม โดยมีการบรรจุน้ำมันต้นแบบลงในหม้อแปลงไฟฟ้าและทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้จริงกับหม้อแปลงไฟฟ้าบรรจุน้ำแร่ และหม้อแปลงไฟฟ้าบรรจุน้ำมันชีวภาพนำเข้า และดำเนินการติดตั้งหม้อแปลงเพื่อทดสอบการใช้งานจริงในพื้นที่ของ กฟภ. ณ พื้นที่ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ซึ่งผลการทดสอบการงานใช้จริงแสดงให้เห็นว่าน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นมาได้นั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งนี้การร่วมมือกันดังกล่าวเป็นการสร้างแนวทางการในสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพเป็นฉบับแรกของประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการส่งเสริมการใช้งานภายในประเทศ และตลาดในต่างประเทศ อีกทั้งยัง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ให้มีศักยภาพในการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างและผลักดันอุตสาหกรรมใหม่ที่มีมาตรฐานคุณภาพและมีมูลค่าสูงกว่าอุตสาหกรรมเดิมจากพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ก่อให้เกิดความยั่งยืนทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย




การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
กลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเติบโตในธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ยังเป็นกลยุทธ์ที่เป็นการตอบสนองต่อแผนการพัฒนาประเทศผ่านโมเดล BCG ซึ่งเป็นการผลักดัน และขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของประเทศไทยผ่านเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) และผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมยังสามารถเป็นตัวกลางในการสร้างมูลค่าร่วมระหว่างบริษัทฯ หน่วยงานภาครัฐ และชุมชนอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ผ่านการตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป และการคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
โครงการผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Nutralist
โครงการผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คือ โครงการที่บริษัทฯ มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคุณภาพสูง ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง และมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ได้ในระยะยาว และยังสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการมีสุขภาพดี ออกไปใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้บริษัทฯ มีกลยุทธ์ในการขยายตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Nutralist ภายใต้แนวคิด 4A ซึ่งประกอบไปด้วย
1. Awareness
2. Affordability
3. Accessibility
4. Acceptability
ด้วยความร่วมมือกับบริษัทฯ ผู้ผลิต Food Ingredients ชั้นนำระดับโลกและด้วยประสบการณ์จัดจำหน่าย Food Ingredients ในประเทศมาอย่างยาวนาน บริษัทฯ จึงมีแผนขยายธุรกิจโดยก้าวเข้าสู่ตลาดในฐานะ Brand Owner ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารภายใต้ Brand “Nutralist” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริม Portfolio ของบริษัทฯ และขยายโอกาสทางธุรกิจในผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value Product) โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวประกอบไปด้วย
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะขยายชนิดของผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากยิ่งขึ้นในอนาคต
โดยผลการดำเนินงานในปี 2567 พบว่าผลิตภัณฑ์ Nutralist สามารถสร้างรายได้ให้แก่บริษัทกว่า 1.6 ล้านบาท และบริษัทฯ มีแผนที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ภายใต้ Nutralist เพิ่มเติม

ในปี 2568-2569
จำนวน
6
ผลิตภัณฑ์
ในปี 2570
จำนวน
8
ผลิตภัณฑ์
ในปี 2571
จำนวน
10
ผลิตภัณฑ์
ในปี 2572
จำนวน
12
ผลิตภัณฑ์

โครงการ Biosovell

บริษัทฯ ได้มีการขยายตลาดไปยังผลิตภัณฑ์สารเคมีในกลุ่มโอลีโอเคมีภัณฑ์อื่นๆ เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ และตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค บริษัทฯ จึงได้เริ่มทำการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีของเมทิลเอสเทอร์ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยบริษัทฯ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่เป็นตัวทำละลายชีวภาพ (Bio-Solvent) ภายใต้ แบรนด์ “ไบโอโซเวล (Biosovell)” ที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มธรรมชาติ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์นี้เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเป็นการทดแทนการใช้สารเคมีที่ผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียม (Petroleum-based) ได้แก่ Xylene A100 และ S100 ได้อีกด้วย
ทั้งนี้ ไบโอโซเวล (Biosovell) จะสามารถเปิดตลาดใหม่ให้กับบริษัทฯ ในหลายอุตสาหกรรมได้ อาทิ เคมีเกษตร สีและสารเคลือบ สารเสริมฤทธิ์ (Adjuvant) และอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องการใช้ตัวทำละลาย ผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่นี้ ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของบริษัทฯ ซึ่งต้องการผลักดันในเรื่องของเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนตามกลยุทธ์ (Portfolio-Driven)
โดยในปี 2567 บริษัทฯ ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิต Biosovell ไว้อย่างครบถ้วน และมีแผนจะเริ่มการจัดจำหน่ายภายในปี 2568 บริษัทฯ คาดว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์ไบโอโซเวล (Biosovell) จะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่บริษัทฯ ในอนาคต
นวัตกรรมกระบวนการ
บริษัทฯ มุ่งพัฒนานวัตกรรมในกระบวนการผลิต เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในปี 2567 บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหลากหลายโครงการ อาทิ
โครงการ การควบคุมกระบวนการขั้นสูงในการกลั่นเมทานอล (Advance Process Control at Methanol rectification (1600 Unit))
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการกรองสิ่งสกปรกในหอหล่อเย็น (Increase Time for Backwash Side Stream Filter)

เนื่องจาก Cooling Tower ของบริษัทฯ เป็นระบบทำความเย็นแบบเปิด จึงอาจจะมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่อาจจะเข้าไปอุดตันในอุปกรณ์ ดังนั้นจึงต้องมีการใช้ Side Steam Filter ซึ่งเป็นอุปกรณ์การกรองสิ่งสกปรก ในน้ำหล่อเย็น ก่อนที่น้ำจะถูกนำไปใช้แลกเปลี่ยนความร้อนในหอหล่อเย็น โดย Side Steam Filter จะมีระบบทำความสะอาดตัวเอง หรือที่เรียกว่า Backflush หรือ Backwash ซึ่งเป็นการชะล้างสิ่งสกปรก และอนุภาคต่าง ๆ ที่ผ่านการกรองแล้วออกไป โดยในขั้นตอน Backwash จะต้องมีการใช้น้ำ Clarify Water ในการชะล้างสิ่งสกปรก ซึ่งถ้ามีการล้างที่นานเกินไป อาจส่งผลให้มีการใช้น้ำที่มากเกินไปเช่นกัน ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีการปรับเวลาในการเดินเครื่องเพื่อลดเวลาการชะล้าง และเป็นการลดการใช้ Clarify water ที่น้อยลง โดยบริษัทฯ ได้มีการปรับสัดส่วนช่วงเวลาในการชะล้างจาก 10 นาที ต่อการเดินเครื่อง 10 ชั่วโมงเป็น 10 นาที ต่อการเดินเครื่อง 12 ชั่วโมง ส่งผลให้บริษัทฯ ลดการใช้ Clarified Water เป็นจำนวนประมาณ 1,747.40 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 41,115.43 บาทต่อปี
ผลการดำเนินงานด้านนวัตกรรม
2564 | 2565 | 2566 | 2567 | เป้าหมาย 2567 | |
---|---|---|---|---|---|
มูลค่าการลงทุนด้านวิจัย และนวัตกรรม (R&D Spending) (ล้านบาท) | 4.7 | 1.96 | 3.96 | 2.55 | N/A |
สัดส่วนการลงทุนด้านวัตกรรมเทียบกับรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ (ร้อยละ) | 0.022 | 0.008 | 0.022 | 0.013 | N/A |
จำนวนพนักงานด้านวิจัยและพัฒนา (คน) | 2 | 2 | 2 | 2 | N/A |