ความท้าทายและความมุ่งมั่น

บริษัทฯ มุ่งมั่นในการบริหารจัดการความปลอดภัยในทุกการดำเนินงานของบริษัทฯ ครอบคลุมทั้งความปลอดภัยในกระบวนการผลิต และความปลอดภัยส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับมาตรฐานและกฎหมายทั้งในระดับประเทศและระดับสากล เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงป้องกันการสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน และชื่อเสียงของบริษัทฯ ตลอดจนผลกระทบเชิงลบต่อ ชุมชน สิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากอุบติเหตุหรืออุบัติการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน

ผู้มีส่วนได้เสียหลัก

พนักงาน
คู่ค้า และคู่ค้าทางธุรกิจ
ลูกค้า

เป้าหมายการดำเนินงาน

จำนวนอุบัติเหตุกระบวนการผลิต
Tier 1 เป็น
0
ในปี 2565
จำนวนอุบัติเหตุกระบวนการผลิต
Tier 2 เป็น
0
ในปี 2565
อัตราความถี่การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานคิดเป็น
0
ในปี 2565
เป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ

แนวทางการบริหารจัดการ

กลยุทธ์ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 5 ปี (2563-2567)
GRI 403-1 (2018), 403-2 (2018)

บริษัทฯ กำหนดนโยบายการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม โดยผ่านระบบการบริหารจัดการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Operational Excellence Management System: OEMS) เพื่อเป็นการพัฒนาการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในส่วนบุคคลและกระบวนการผลิตอย่างครอบคลุมตลอดห่วงโซ่การดำเนินงาน และมีการกำหนดให้ทุกโรงงาน ต้องผ่านการรับรองตามมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล ISO 45001 (Independent external verification of health, safety) พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการปฏิบัติงานของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดทำกลยุทธ์ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม 5 ปี และบูรณาการการดำเนินงานเข้ากับมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ใน 3 ด้าน ได้แก่ ความปลอดภัยส่วนบุคคล ความปลอดภัยในกระบวนการผลิต และความปลอดภัยนอกการปฏิบัติงาน
Personal Safety
  • Build strong B-CAREs culture
  • Collaborate contractor for strengthen contractor safety management
  • Strengthen understanding risk for higher effectiveness personal risk prevention
Process safety
  • Strengthen Safety Committed Culture
  • Strengthen PSM Governance via all levels of PSM committees
  • Expand Inspirational Leadership program to all level management supervisors & staffs
  • Enhance PSM Technical Capabilities of staff
Off the Job Safety
  • Develop and implement Road safety
Emergency/ Crisis Management
  • Strengthen Emergency & Crisis

สามารถรับทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Health and Safety Performance) ได้ที่ Performance Data

หน้าที่ของคณะกรรมการกำกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
GRI 403-4 (2018)

บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (SHE Steering Committee) เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมภายในของบริษัทฯ ให้มีมาตรฐานทัดเทียมหลักสากลและบรรลุเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ และจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากพนักงาน เพื่อเปิดช่องทางในการปรึกษาหารือกับพนักงาน หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง (Consultation with and participation of workers, and workers’ representatives) ตลอดจน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้าน SHE ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานเป็นประจำทุกเดือน

1. กำหนดและทบทวนนโยบายเป้าหมายแผนงานด้าน SHE

2. กำกับดูแล สนับสนุน และติดตามผลการดำเนินงาน ด้าน SHE ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ดำเนินงานตามมาตรฐานสากล และสอดคล้องกับนโยบายของบริษัทฯ

3. พิจารณา อนุมัติ และประกาศใช้คู่มือ SHE และกระบวนการที่มีความสำคัญ และครอบคลุมการปฏิบัติงานของบริษัทฯ

4. ประชุมคณะกรรมการ SHE อย่างน้อยปีละ 6 ครั้ง

5. ในการประชุมมีองค์ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสม

ความปลอดภัยของกระบวนการผลิต

บริษัทฯ ประยุกต์ใช้มาตรฐานด้านความปลอดภัยในกระบวนการผลิต (Process Safety Management : PSM) มาใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการดำเนินงานในพื้นที่โรงงาน และการดำเนินงานตาม Plant Reliability Master Plan เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานด้านการผลิตสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ รวมทั้งปลอดภัยอย่างสูงสุด พร้อมทั้งมีการตรวจประเมินการจัดการความปลอดภัยในกระบวนการผลิตโดยผู้ตรวจประเมินภายนอก นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดมาตรการบรรเทาความเสี่ยงเพิ่มเติม เพื่อป้องกันความรุนแรงจากความเสี่ยงที่อาจเผชิญระหว่างการดำเนินงาน ได้แก่ ระบบการบริหารจัดการเสถียรภาพและสมรรถนะเครื่องจักร การความคุมประสิทธิภาพการผลิต และมาตรการบรรเทาความเสี่ยงเพื่อลดโอกาสจากเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น

ในปี 2565 บริษัทฯ ได้พัฒนาศักยภาพความปลอดภัยของบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงรักษามาตรฐานการปฏิบัติงานให้สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างปลอดภัย โดยจัดทำโครงการความปลอดภัยของกระบวนการผลิต อาทิ

โครงการ Bow-Tie Barrier Validation Checklist GRI 403-2 (2018)

บริษัทฯ นำการชี้บ่งความเสี่ยงแบบ Bow-Tie มาใช้ในการติดตามเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุด้าน Process Safety และใช้ Bow-Tie เป็นเครื่องมือในสอบทวนมาตรการควบคุม (Barriers) ต่าง ๆ ที่ใช้ป้องกันและลดผลกระทบจากเหตุการณ์อุบัติการณ์ร้ายแรง (Major Accident Event: MAE) ของโรงงาน โดยสอบทวนการทำ Preventive Maintenance (PM) ของอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับการตรวจสอบหน้างานจริง กรณี พบข้อบกพร่อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามปกติ และสามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ลดการหยุดชะงักในกระบวนการผลิต ทำให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ได้นำผลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนาระบบและมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตผ่านการซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Integration of actions to prepare for and respond to emergency situations )

ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ
  • พนักงานและผู้รับเหมาเข้าร่วมโครงการมากกว่า 1,200 คน

โครงการพัฒนาศักยภาพการตรวจสอบข้อบกพร่องในกระบวนการผลิต

บริษัทฯ ดำเนินโครงการนี้เพื่อสร้างความตระหนักควบคู่กับส่งเสริมความรู้และความเข้าใจถึงการตรวจตราข้อบกพร่องและความปลอดภัยในกระบวนการผลิต ผ่านการจัดอบรมให้แก่พนักงานในพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยมอบหมายให้พนักงานที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องจักรต่าง ๆ รวมถึงฝึกทักษะการสังเกตการณ์และบ่งชี้สิ่งผิดปกติในกระบวนการผลิตอย่างถูกต้อง ตลอดจนส่งเสริมความรู้ในการป้องกันอันตราย หรือความเสี่ยงจากการทำงาน นอกจากนี้ พนักงานผู้เชี่ยวชาญ ยังทำหน้าที่สอบถาม หารือ และบันทึกสิ่งที่ผิดปกติ พร้อมทั้งประเมินความเสี่ยงจากพนักงานหน้างาน เพื่อหาทางปรับปรุงการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงานในที่ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.) ทุกเดือน

โครงการ การจัดทำ BCP (Business Continuity Plan) GRI 403-5 (2018), 403-7 (2018)

บริษัทฯ มีการซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) ประจำปี ผ่านระบบ Microsoft Team เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับในสายงานการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BC Team) ที่เข้าร่วมโครงการฝึกซ้อมเข้าใจถึงบทบาท และหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ในแผนความต่อเนื่องธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

ความปลอดภัยส่วนบุคคล GRI 403-2 (2018)

ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย เพื่อสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยส่วนบุคคลให้แก่พนักงาน และผู้รับเหมา รวมถึงกำหนดเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดกิจกรรม 5ส การจัดประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.) เพื่อรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานด้านความปลอดภัยเป็นประจำทุกเดือน การรายงานความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ การทำกิจกรรม SWO (Safety Walk Observation) อย่างต่อเนื่อง และกำหนดมาตรฐาน

อย่างไรก็ตาม อุบัติเหตุ/อุบัติภัย นั้น ยังคงเป็นเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ และมีแนวโน้มความรุนแรงที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และเป้าหมายความปลอดภัยของบริษัทฯ ในระดับสูง บริษัทฯ จึงกำหนดแผนบรรเทาความเสี่ยงและโครงการส่งเสริมความปลอดภัยส่วนบุคคล เพื่อลดความรุนแรงของเหตการณ์ดังกล่าว ดังนี้

การสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย

บริษัทฯ ยังคงสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยและสร้างความเข้มแข็งในการจัดการระบบมาตรฐานที่จำเป็นให้กับบุคลากรทุกระดับในการผลิตเป็นประจำ ประกอบด้วย ความปลอดภัยในโรงงานต้องเป็นไปตามมาตรฐานตามกฎหมาย (Process Safety Management) การกำหนดแผนลดการใช้พลังงานในการผลิต การส่งเสริมวินัยการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย และวางแผนการลดปริมาณของเสียจากการผลิต (Waste Reduction) ร่วมด้วย

โครงการ Understand Risk

บริษัทฯ จัดทำโครงการ Understand Risk เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัย และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับเหมา ผ่านการพูดคุย และสอบถามผู้ปฏิบัติงานถึงความเข้าใจและความสามารถในการระบุความเสี่ยงทั้งด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของตนเอง (OHS risk and hazard assessments to identify what could cause harm in the workplace) ตลอดจนทราบถึงขั้นตอนป้องกันความเสี่ยงได้อย่างถูกต้องหรือไม่ หากพบว่าผู้ปฏิบัติงานมีความรู้และความเข้าใจถึงการระบุความเสี่ยง และการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวไม่เพียงพอ บริษัทฯ จะจัดการอบรมเพิ่มเติมถึงแนวทางการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป ซึ่งจากการดำเนินโครงการพบว่า พนักงานมีความรู้ความเข้าใจถึงความเสี่ยงและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเสมอมา

โครงการ Safety Walk Observation

บริษัทฯ ดำเนินโครงการ SWO ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่ปลอดภัยในองค์กร โดยส่งเสริมให้ผู้บริหารระดับผู้จัดการฝ่าย (Vice President) นำทีมสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานและผู้รับเหมาทุกคนในกระบวนการผลิต ผ่านการเดินสำรวจกิจกรรม (Internal Inspection) และพฤติกรรมเสี่ยง รวมถึงความปลอดภัยของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นประจำ 5 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 15 นาที เพื่อบันทึกข้อมูลแล้วร่วมสนทนา ปรึกษา หารือ หากพบพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน ซึ่งผู้สำรวจสามารถกล่าวชมเชยเมื่อทำงานปลอดภัย หรือตักเตือนเมื่อพบเจอการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เพื่อรายงานในที่ประชุมOperation Committee Meeting (OCM) ทุกวันปฏิบัติงาน หรือ คณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.) ทุกเดือน

โครงการ B-CAREs KYT

บริษัทฯ จัดทำโครงการ B-CAREs KYT เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในงานด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงเป็นการสร้างวัฒนธรรมการเน้นย้ำให้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์อันตรายหน้างาน และคาดการณ์อันตรายที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งกำหนดมาตรการ หรือวิธีการจัดการอันตรายเหล่านั้นเพื่อให้เกิดปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานทุกคน ผ่านกิจกรรมประกวด Clip VDO B-CAREs KYT

กิจกรรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย GRI 403-2 (2018), 403-4 (2018), 403-5 (2018), 403-7 (2018)

  • ประเมินความเสี่ยงและอันตรายด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของบุคลากรในสถานที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอ (OHS risk and hazard assessments to identify what could cause harm in the workplace) เช่น โครงการ Bow-Tie Barrier Variation Checklist โครงการ Understand Risk ระบบประเมินความเสี่ยงหน้างาน เป็นต้น
  • จัดลำดับความสำคัญของการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยตามเป้าหมายที่บริษัท ฯ กำหนด เพื่อพัฒนาการดำเนินงาน และยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งบรรลุเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ (Zero Accident Organization) (Prioritization and integration of action plans with quantified targets to address those risks)
  • ปรับปรุงและพัฒนาระบบและมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตผ่านการซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจเป็นประจำทุก XX (Business Continuity Plan: BCP) (Integration of actions to prepare for and respond to emergency situations)
  • ตรวจพื้นที่ปฏิบัติงานตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (SHE) ภายในองค์กร (Internal inspections) เช่น โครงการ Safety Walk Observation (SWO) ตลอดจน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้าน SHE ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานสากล สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ (Evaluation of progress in reducing/preventing health issues/risks against targets)
  • กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อสอบสวนการเกิดอุบัติการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดที่เกิดจากการดำเนินงาน เช่น การบาดเจ็บ การเจ็บป่วย การเสียชีวิต เป็นต้น ตามขั้นตอน
    • การแจ้งเหตุอุบัติการณ์ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการประเมินความเสี่ยง และให้คะแนนความรุนแรงซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการจัดตั้งแนวทางการป้องกัน
    • การจัดตั้งแนวทางเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งรวมไปถึง การตั้งทีมงานผู้รับผิดชอบ การจัดทำรายงาน การกำหนดตัวชี้วัดในการวัดผล
    • การติดตามผลแนวทางการป้องกัน และสถานะของเหตุการณ์ ว่าแนวทางการป้องกันนั้นได้ผล หรือต้องมีการปรับแก้หรือไม่
    • เมื่อมีการป้องกันที่ชัดเจนและได้ผล ผู้รับผิดชอบจะเปลี่ยนสถานะการรายงานผลของเหตุการณ์กลับสู่ปกติ
    • นำเอาข้อมูลเหตุอุบัติการณ์ณ์ที่เกิดขึ้น ไปเก็บไว้ใน Database เพื่อเป็นฐานข้อมูล ที่สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน และเป็นข้อมูลในการสร้างแผนรับมือสำหรับเหตุการณ์ในอนาคตต่อไป
  • จัดอบรมในหัวข้ออาชีวอนามัยและความปลอดภัยแก่พนักงานทุกระดับ ครอบคลุมความปลอดภัยในกระบวนการผลิต และมาตรฐานความปลอดภัยส่วนบุคคล ของพนักงาน ผู้รับเหมา และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในที่ทำงาน และเพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงาน เช่น การจัดอบรบ Operational Discipline เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับพนักงาน ผู้รับเหมา ก่อนเข้าเขตพื้นที่ปฏิบัติงาน โครงการ One Supervisor One Project เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร (B-CAREs)
  • กำหนดเกณฑ์ในการทำสัญญาและจัดซื้อจัดจ้าง อาทิ คู่ค้าต้องมีใบอนุญาตการปฏิบัติงาน ระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย และต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยให้บุคลากรภายในองค์กรของตนเอง พร้อมทั้งดำเนินการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติของคู่ค้าเป็นประจำทุกปี รวมถึงตรวจประเมินคู่ค้าที่สำคัญด้าน ESG อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้มาซึ่งคู่ค้าและผู้รับเหมาที่มีคุณภาพและตรงตามมาตรฐานความปลอดภัย

การส่งเสริมสุขภาพและอาชีวอนามัย (Promotion of Worker Health) GRI 403-3 (2018), 403-6 (2018)

บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของพนักงาน โดยจัดให้มีการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงโดยแพทย์ที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนด โดยตรวจครั้งแรกให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่เข้าทำงาน และ ตรวจครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่หยุดงาน 3 วันติดต่อกันเนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีพบความผิดปกติ หรือผู้ปฏิบัติงานอาจมีอาการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้ บริษัทฯ จัดให้พนักงานได้รับการรักษาทันที และทำการตรวจสอบหาสาเหตุของความผิดปกติเพื่อป้องกันต่อไป ทั้งนี้ ผลการตรวจสุขภาพต้องมีการรักษาเป็นความลับตามนโยบายความเป็นส่วนตัวอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อดูแลรักษาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานซึ่งสามารถรับทราบเพิ่มเติมที่ https://www.ggcplc.com/th/sustainability/social/our-employee