กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บริษัทฯ ตระหนักถึงความเสี่ยงทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำแล้ง น้ำท่วม มรสุม เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และอาจก่อให้เกิดการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่า
ดังนั้น บริษัทฯ จึงแสดงจุดยืนในการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามข้อตกลงตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) โดยมุ่งมั่นในการบรรเทาผลกระทบและบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก พัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตอย่างคุ้มค่าและเต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการผลิตของบริษัท
เป้าหมายการดำเนินงาน
110,320
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ร้อยละ 20
ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2555
โครงสร้างการบริหารจัดการการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กลยุทธ์หลักในการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ การกำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการ คณะกรรมการ และ ประธานคณะผู้บริหาร โดยแต่ละระดับมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
ระดับการกำกับดูแล | หน้าที่ความรับผิดชอบ |
---|---|
ระดับการกำกับดูแล: ประธานกรรมการ | หน้าที่ความรับผิดชอบ:
กำกับดูแล วางกลยุทธ์ กำหนดแผนการดำเนินงาน และติดตามผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสขององค์กร ที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดมาตรการรองรับความเสี่ยง และกรอบแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมสำหรับบริษัทฯ รวมถึงการเตรียมความพร้อมของบริษัทฯ เพื่อสนับสนุนทิศทางสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low carbon Economy) อย่างเต็มรูปแบบ ที่อาจนำไปสู่การค้นพบโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ในอนาคต |
ระดับการกำกับดูแล: คณะกรรมการ | หน้าที่ความรับผิดชอบ:
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การประยุกต์ใช้พลังงานทางเลือก และการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
ระดับการกำกับดูแล: ประธานคณะผู้บริหาร (CEO) | หน้าที่ความรับผิดชอบ:
มีหน้าที่หลักในการกระจายงาน และควบคุมการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้สอดคล้องตามกลยุทธ์ นโยบาย และงบประมาณที่ได้จัดสรรไว้ รวมทั้งการกำหนดแผนรองรับและควบคุมการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาวของบริษัทฯ ที่กำหนดไว้ |
แนวทางการรับมือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ
บริษัทฯ มุ่งมั่นในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาส รวมถึงผลกระทบต่อภาคธุรกิจ ตามกรอบการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosures: TCFD) เพื่อให้บริษัทฯ มีความพร้อมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับการการวางกลยุทธ์ และพัฒนาการรายงานผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

รายละเอียดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก | หน่วย | ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก | เป้าหมายปี 2564 | |||
---|---|---|---|---|---|---|
2561 | 2562 | 2563 | 2564 | |||
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขอบเขตที่ 1 | ตัน CO2 เทียบเท่า | 6,415 | 4,128 | 33,333 | 30,708 | N/A |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขอบเขตที่ 2 | ตัน CO2 เทียบเท่า | 66,747 | 61,382 | 59,481 | 57,481 | N/A |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขอบเขตที่ 1และ 2 | ตัน CO2 เทียบเท่า | 73,162 | 65,511 | 92,814 | 88,189 | 110,320 |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขอบเขตที่ 1 และ 2 ต่อตันการผลิต | ตัน CO2 เทียบเท่าต่อตันการผลิต | 0.148 | 0.166 | 0.178 | 0.201 | 0.173 |