การบริหารจัดการความเสี่ยงและวิกฤตการณ์
ความท้าทายและความมุ่งมั่น
บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงและโอกาสใหม่ ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในอนาคต เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและพฤติกรรมมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการเกิดโรคระบาดใหม่ เป็นต้น ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบภายในองค์กร พร้อมทั้งพิจารณาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกองค์กรที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อระบุแนวโน้มความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อองค์กร ซึ่งทำให้บริษัทฯ สามารถรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที และขับเคลื่อนองค์กรให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก
พนักงาน
ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์
เป้าหมายการดำเนินงาน
มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สอดคล้องกับ
เป้าหมายทางธุรกิจและกลยุทธ์องค์กรระยะยาว
เพื่อลดผลกระทบจากความเสี่ยงต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้และเหมาะสม
แนวทางการบริหารจัดการ
แนวทางการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน
บริษัทฯ มีแนวทางการดำเนินงานการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายในอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานในระดับสากล ได้แก่ COSO (The Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission) ปี 2017 และ มาตรฐาน ISO 31000เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ความถูกต้องครบถ้วนของรายงาน และการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ อันจะช่วยสนับสนุนให้การทำงานของบริษัทฯ มีความถูกต้อง โปร่งใส บรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ และตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่มีความคาดหวังให้องค์กรดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการกำกับดูแลกิจการ การบริหารจัดการความเสี่ยง และการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องตามกฎหมาย (Governance, Risk Management and Compliance : GRC) เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน และเป็นไปตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ
โดยบริษัทฯกำหนดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูแลและติดตามระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ รายงานที่จัดทำขึ้นมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และการดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง สามารถป้องกันทรัพย์สินของบริษัทฯ จากการนำไปใช้โดยมิชอบของบุคคลผู้มีอำนาจและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการทำธุรกรรมกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และบุคคลที่เกี่ยวโยงกันอย่างเพียงพอ รวมทั้งหน่วยงานตรวจสอบภายในได้สอบทานระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ ตามแผนงานตรวจสอบตามฐานความเสี่ยง
นอกจากนี้บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญผ่านการประเมินความเสี่ยงเป็นประจำทุกไตรมาส เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในมีความสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ก.ล.ต. และแนวปฏิบัติที่ดีของกลุ่มบริษัทฯ มากยิ่งขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมภายในตามมาตรฐานสากล เพื่อส่งเสริมให้บริษัทฯ บรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติงาน (Operation) ด้านการรายงาน (Reporting) และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ (Compliance) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ได้สนับสนุนและข้อเสนอแนะโครงการการพัฒนากระบวนการประเมินความเสี่ยงและการควบคุมภายในด้วยตนเอง (Risk and Control Self-Assessment: RCSA) เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมภายใน และการสร้างความเข้าใจของผู้ปฏิบัติงานในการดำเนินกิจกรรม โดยสามารถประเมินจุดสำคัญของกระบวนการควบคุมภายในและประเมินความเสี่ยงกระบวนการทำงานของตนเองได้ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการกำกับดูแลการบริการความเสี่ยงขององค์กร บริษัท ฯ มุ่งเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร ผ่านการจัดอบรมจากผู้เชี่ยวชาญ ให้กับคณะกรรมการบริษัท ฯ ผู้บริหาร จนถึงพนักงานทุกระดับ โดยกำหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ของพนักงานทุกคน ตลอดจนดำเนินโครงการส่งเสริมวัฒนธรรมความเสี่ยงให้แก่พนักงานทุกระดับภายในองค์กร โดยมีโครงการที่โดดเด่น ดังนี้
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการการบริหารจัดการความเสี่ยงและวิกฤตการณ์ ในเล่มรายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการประจำปี 2566 ของบริษัทฯ ได้ที่ รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการประจำปี 2566
- โครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการการบริหารความเสี่ยง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับองค์กรสำหรับผู้บริหาร
- โครงการการอบรมให้ความรู้เรื่องความเสี่ยง เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการความเสี่ยง ตลอดจนการควบคุมภายใน รวมถึงเพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากแต่ละหน่วยงานภายในบริษัทฯ
- โครงการการประเมินความเสี่ยงและการควบคุมภายในด้วยตนเอง เพื่อให้บริษัทฯ สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างความมั่นใจและความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงิน การดูแลป้องกันทรัพย์สิน และการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของบริษัทฯ
- การซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อรับอุบัติการณ์และลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับในสายงานการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BC Team) เข้าใจถึงบทบาท และหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ในแผนความต่อเนื่องธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องตามกฎหมาย (Governance, Risk Management and Compliance : GRC) และการประเมินความเสี่ยงและการควบคุมภายในด้วยตนเอง (Risk and Control Self-Assessment: RCSA) ให้แก่ผู้บริหารในปี 2022 (GRC and RCSA Refreshment Workshop for Top Management) ได้ที่ : GGC GRC and RCSA Refreshment Workshop for Top Management
บริษัทฯ บริหารความเสี่ยงและปรับปรุงการควบคุมภายในควบคู่ไปกับการจัดการกลยุทธ์ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และเป้าหมายหลักขององค์กรภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ซึ่งครอบคลุมถึงการบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (Environment) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) สิทธิแรงงาน (Labor Rights) การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ คู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง และการต่อต้านทุจริต คอร์รัปชัน (Anti-Corruption) ตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ครอบคลุมทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกองค์กรที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจปัจจุบันของบริษัทฯ รวมทั้งกำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงควบคู่ไปกับการพิจารณาจัดทำแผนกลยุทธ์ การลงทุน และการวางแผนธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสอดคล้องตามเป้าหมายขององค์กรรายปี ทั้งแผนกลยุทธ์ระยะสั้น (Short Term Goal) และแผนกลยุทธ์ระยะยาว (Long Term Goal) ของบริษัทฯ ตลอดจนการนำมาตรการป้องกันผลกระทบที่กำหนดไว้ มาใช้ควบคุมระดับความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่บริษัทฯ ยอมรับได้ รวมทั้งจัดให้มีการวิเคราะห์ Root Cause Analysis ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามแผนงาน
บริษัทฯ พิจารณาความเสี่ยงถึงครอบคลุมทั้งความเสี่ยงระดับองค์กร (Corporate Risk) ความเสี่ยงระดับปฏิบัติการ (Operational Risk) และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) ซึ่งสอดคล้องกับระบบมาตรฐาน COSO (The Committee of Sponsoring Organisations of the Treadway Commission)
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญต่อการวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้นซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในอีกสามถึงห้าปีข้างหน้า ตลอดจนจัดทำมาตรการป้องกันผลกระทบต่าง ๆ เพื่อใช้ในการควบคุมระดับความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
ความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคในอนาคต (Risk Regarding Customer Trends)
ประเภทความเสี่ยง (Category of Risk) | ความเสี่ยงด้านสังคมและเทคโนโลยี (Societal and Technological Risk) |
แหล่งที่มา (Sources of Risks) | ปัจจัยทางธรรมชาติ (Natural Factor) และ เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomic Factor) |
การวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ (Scenario Analysis) |
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีความตระหนักในเรื่องการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นไปตามความร่วมมือในระดับสากล ดังเช่น การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (Conference of Parties: COP26) ปี 2564 และสมัยที่ 27 (COP27) ที่ทำให้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีการปรับเปลี่ยนนโยบายและกฎหมายให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ เช่น มาตรการเพิ่มภาษีคาร์บอน เป็นต้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว (Low Carbon Economy) ซึ่งประกอบไปด้วย การใช้พลังงานหมุนเวียน (RE) สำหรับพลังงานปฐมภูมิ (Primary Energy) ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวภาพ และเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) รวมถึงเทคโนโลยีเพื่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้จะอยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่กับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน |
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (Possible Effects)
ธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel): รายได้และกำไรของธุรกิจได้รับผลกระทบเชิงลบเนื่องจากความต้องการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE) ทั้งน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซิน มีแนวโน้มลดลง จากการแทนที่ของ EV ในอนาคต และความสนใจในสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนมากขึ้นของผู้บริโภค แต่ทั้งนี้ก็มีผลกระทบเชิงบวกและเป็นโอกาสทางธุรกิจในการต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ Methyl Ester Derivatives และ Ethanol Derivatives ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมี และเคมีชีวภาพที่มีแนวโน้มเติบโตดี
ธุรกิจโอลีโอเคมี (Oleochemicals): ได้รับผลกระทบเชิงบวกจากความต้องการผลิตภัณฑ์ Bio-based และ Sustainable Ingredients ที่มีแนวโน้มเติบโต นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ High Value Product (HVP) ได้อีกด้วย รวมถึงนโยบาย BCG Model ที่ส่งเสริมให้เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร และนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพจากภาครัฐ
มาตรการรองรับปัจจัยเสี่ยง และโอกาส (Mitigation and Opportunities)
- วางแผนและประเมิน แผนงานที่เกี่ยวข้องกับ Transition Risks ที่รวมไปถึงความเสี่ยงและโอกาส ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อวางแผนในการดำเนินงานสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
- ติดตามแผนการส่งเสริมแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกอย่างใกล้ชิด ว่าจะมีการปรับแผนเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติหรือไม่และอย่างไร จากแผนเดิมฉบับปรับปรุงใหม่ ปี 2561 – 2580 (AEDP 2018)
- ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ในการศึกษาและพัฒนาตลาดภายในประเทศ เพื่อรองรับการลงทุนในอนาคต รวมถึงหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการลงทุนโครงการ สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูง (Advance Biofuel)
- ศึกษาข้อมูลทางด้านการตลาดร่วมกับทางกลุ่ม GC เพื่อหาโอกาสทางการตลาด และศึกษาหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับโครงการ ในการต่อยอดผลิตภัณฑ์เอทานอลให้มีมูลค่าสูงขึ้น
- ศึกษาร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ และเจ้าของเทคโนโลยีการผลิต (Technology Licensor) เพื่อขยายธุรกิจสู่ผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ (Biochemicals) ที่มีศักยภาพ
- ศึกษาและต่อยอดธุรกิจจากผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมี ไปสู่ผลิตภัณฑ์ปลายน้ำผ่านกลุ่มสินค้า Home & Personal Care (HPC) ซึ่งมีมูลค่าสูงขึ้น
ความเสี่ยงด้านวิกฤตหนี้ (Risk Regarding Debt Crises)
ประเภทความเสี่ยง (Category of Risk) | เศรษฐกิจ (Economic) |
แหล่งที่มา (Sources of Risks) | ปัจจัยจากเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics Factor) |
การวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ (Scenario Analysis) | จากการคาดการณ์ของ The World Economic Forum (WEF) ว่าหลายประเทศทั่วโลกอาจต้องเผชิญความเสี่ยงเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณหนี้สิน ซึ่งเป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการจัดหาเงินทุน ความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของภาครัฐและภาคเอกชนภายในประเทศ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการวิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity Analysis) และทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) จากปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่มีอิทธิพลต่อกำไรสุทธิขององค์กร เพื่อนำมากำหนดมาตรการรองรับความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ผ่านการทำแบบจำลองทางการเงิน เพื่อพิจารณาผลกระทบต่อกำไรสุทธิจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยสำคัญ อาทิ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ราคาพลังงาน ราคาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์หลัก |
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (Possible Effects)
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (Possible Effects) ความเสี่ยงจากการชำระหนี้ของคู่ค้าทางธุรกิจของบริษัทฯ และโครงการร่วมทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจ จนกระทบต่อผลการดำเนินธุรกิจปัจจุบันและแผนธุรกิจบริษัทฯ ในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19 และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลกอาจส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัว คู่ค้าประสบปัญหาการเงินขัดข้อง หรือลูกค้าไม่สามารถซื้อสินค้าเนื่องจากความต้องสินค้าชะลอตัว ทำให้เกิดห่วงโซ่อุปทานที่หยุดชะงัก ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต รวมถึงลดความต้องการผลิตภัณฑ์ทั้งโอลีโอเคมีและเคมีภัณฑ์ตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การลดลงของผลประกอบการของบริษัทฯ ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้และการส่งมอบสินค้าและบริการ ทั้งนี้ ราคาต้นทุนที่สูงขึ้นตามอุปสงค์และอุปทานของผลิตภัณฑ์ และต้นทุนการดำเนินงาน สามารถนำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการสร้างรายได้ จนไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ รวมถึงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย
มาตรการรองรับปัจจัยเสี่ยง และโอกาส (Mitigation and Opportunities)
- กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างผลิตภัณฑ์อย่างมีความรับผิดชอบ ผ่านการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ในการพัฒนาและการตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง (High Value Products) ของผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูง (Advanced Biofuel) ผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ (Biochemicals) และผลิตภัณฑ์กลุ่ม Food & Nutraceuticals ที่สามารถเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ ในอุตสาหกรรมโอลีโอเคมี และเคมีภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งวางแผนขยายการขายไปยังตลาดส่งออกอื่น ๆ เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ
- ดำเนินการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้ารายสำคัญ โดยใช้แบบประเมิน ESG Assessment พร้อมทั้ง ประเมินสถานะทางการเงินในระหว่างขั้นตอนการขึ้นทะเบียนผู้ขายรายใหม่ (Vendor List) โดยมีการตรวจประเมินและติดตามความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเป็นประจำ