กลยุทธ์ด้านภาษี
ความท้าทายและความมุ่งมั่น
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในหลักความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ และตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการด้านภาษี เพื่อสร้างความไว้วางใจและประโยชน์สูงสุดให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยบริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายภาษีภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี และดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ จรรยาบรรณด้านภาษี การบริหารความเสี่ยงด้านภาษี และความโปร่งใสด้านภาษี
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก
ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์
ลูกค้า
ภาครัฐ
คู่ค้า และคู่ค้าทางธุรกิจ
ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
แนวทางการดำเนินงานด้านภาษี
บริษัทฯ จัดทำนโยบายด้านภาษี เพื่อกำกับดูแล บริหารความเสี่ยง และเปิดเผยข้อมูลด้านภาษีอย่างโปร่งใส สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
ความโปร่งใสทางด้านภาษี
บริษัทฯ ได้เปิดเผยข้อมูลการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นประจำทุกปีในประเทศที่มีการดำเนินการทางธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลรายได้รวมของบริษัทฯ กำไรจากการดำเนินงาน และการจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้
การชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี 2567 (ล้านบาท)
*100% ของรายได้มาจากประเทศไทย
** รายได้จากการขายและบริการ
***กำไรจากการดำเนินงานก่อนภาษี (Profit before tax)
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจหลัก (Primary Activities) ในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมี (Oleochemical Industry) โดยมีฐานการผลิตหลักอยู่ที่ประเทศไทย นอกจากนี้ยังร่วมมือกับบริษัทร่วม/คู่ธุรกิจในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ เพื่อรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต ซึ่งบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการกำกับดูแลเพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทร่วมและคู่ค้าทางธุรกิจในการดำเนินธุรกิจทั้งหมดจะดำเนินการสอดคล้องตามแนวทางการดำเนินงานด้านภาษีของบริษัทฯ ที่ได้วางไว้
หน่วยงานและกิจกรรมทางธุรกิจหลักของกลุ่ม GGC
ประเทศไทย | การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ |
---|---|
Global Green Chemicals Public Company Limited | ผลิต จำหน่าย และขนส่ง ผลิตภัณฑ์โอลิโอเคมี |
บริษัทฯ ในเครือ | |
GGC Biochemical Co., Ltd. | การลงทุนและดำเนินธุรกิจในประเทศ |
บริษัทฯ กิจการร่วมค้า | |
Thai Ethoxylate Co., Ltd. | ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แฟตตี้แอลกอฮอล์อีทอกซีเลท |
บริษัทฯ กิจการร่วมค้าทางอ้อม | |
GGC KTIS Bioindustrial Co., Ltd. | ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและเอทานอลจากอ้อย |
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เปิดเผยอัตราภาษีที่ได้รายงาน (Reported Tax Rates) และอัตราภาษีที่จ่ายจริง (Actual Tax Rates) ในปี 2566 และ 2567 ดังนี้
หน่วย: ล้านบาท
รายละเอียด | ปี 2566 | ปี 2567 | ค่าเฉลี่ยที่คำนวณได้ |
---|---|---|---|
กำไร (ขาดทุน) จากการดำเนินงานก่อนหักภาษี | (120) | (220) | - |
จำนวนภาษีที่ได้รายงาน | 82 | 45 | - |
อัตราภาษีที่ได้รายงาน (ร้อยละ) | (68.33) | (20.45) | (44.39) |
ภาษีที่จ่ายจริง | 120 | - | - |
อัตราภาษีที่จ่ายจริง (ร้อยละ) | (100) | - | (50) |
ทั้งนี้ บริษัทฯ บริหารจัดการภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายประเทศไทยอย่างถูกต้อง ในปี 2567 บริษัทฯ มีอัตราเฉลี่ยทางภาษีที่ได้รายงาน (Reported Tax Rate) ที่ร้อยละ (20.45) และภาษีที่จ่ายจริงอยู่ที่ร้อยละ 0 เนื่องจากผลการดำเนินการของบริษัทขาดทุน จึงไม่มีภาษีที่ต้องจ่าย
หน่วย: ล้านบาท
รายละเอียด | อัตรา | ปี 2566 | อัตรา | ปี 2567 |
---|---|---|---|---|
กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักภาษี | (120) | (220) | ||
ภาษีเงินได้ โดยใช้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศไทย | 20% | (24) | 20% | (44) |
รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี | - | - | ||
รายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่ม | (7) | (89) | ||
ผลขาดทุนสะสมทางภาษี | 92 | 59 | ||
ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี | 5 | 3 | ||
ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า | 17 | 113 | ||
รายการผลแตกต่างชั่วคราว | - | - | ||
อื่น ๆ | (1) | 3 | ||
รวม | 12.49% | 82 | (20.45%) | 45 |
หมายเหตุ
ผลประกอบการจากการดำเนินงานที่ได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษี เป็นผลขาดทุนทั้งหมด 529 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย ขาดทุนจากการดำเนินงานของโครงการเมทิลเอสเตอร์แห่งที่ 1 จำนวน 529 ล้านบาท และขาดทุนจากการดำเนินงานของโครงการเมทิลเอสเตอร์แห่งที่ 2 จำนวน 86 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานที่ได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีจากบัตรส่งเสริมการลงทุนของโครงการกลีเซอรีนแห่งที่ 2 จำนวน 86 ล้านบาท โดยมีคำอธิบายดังนี้
- รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีจากสิทธิประโยชน์ BOI จำนวน 8,852 ล้านบาท และ 12,296 ล้านบาท ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ
- ค่าใช้จ่ายต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารของกิจการที่ได้รับยกเวินภาษีจากสิทธิประโยชน์ BOI จำนวน 9,055 ล้านบาท และ 12,819 ล้านบาท ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ
- รายการปรับปรุง: ผลจากการบวกกลับค่าใช้จ่ายต้องห้าม และหักค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้เพิ่ม / รายได้ที่ได้รับลดหย่อนจากสิทธิประโยชน์ภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนภายใต้ประมวลรัษฎากรและพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน จำนวน (114) ล้านบาท และ (6) ล้านบาท ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ