ความท้าทายและความมุ่งมั่น

บริษัทฯ ตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ วิกฤตน้ำแล้ง รวมถึงการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมทำให้เกิดความต้องการใช้น้ำมากขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯ มีความเสี่ยงอย่างมากต่อการขาดแคลนน้ำที่จำเป็นต่อกระบวนการผลิตทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ ซึ่งอาจส่งผลกระทบถึงขั้นเกิดการหยุดชะงักของธุรกิจ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำของชุมชนโดยรอบ ดังนั้น บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นดำเนินการบริหารจัดการน้ำภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า

ผู้มีส่วนได้เสียหลัก

พนักงาน
ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์
ภาครัฐ
คู่ค้า และคู่ค้าทางธุรกิจ
ลูกค้า

แนวทางการบริหารจัดการ

แนวทางการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน GRI 303-1 (2018)

บริษัทฯ มีแนวทางบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภายในองค์กรตามหลักการ 3Rs ได้แก่ การลดการใช้น้ำ (Reduce) การใช้น้ำซ้ำ (Reuse) และ การนำน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการบำบัดกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)

Reducing water Consumption by3Rs

โครงการบริหารจัดการน้ำ (Water Management Program)

GGC ได้พัฒนาแผนปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำในกระบวนการดำเนินงาน และจัดการการดึงน้ำ การใช้น้ำ และการระบายน้ำทิ้งอย่างมีประสิทธิภาพ โดย GGC มุ่งเน้นการลดการใช้น้ำในกระบวนการดำเนินงานและเพิ่มสัดส่วนการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ของ Clarified water Demineralized water และ Boil Water โดยแผนปฏิบัติการประกอบไปด้วย

  1. ดำเนินการประเมินการใช้น้ำประจำปีเพื่อระบุวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำ
  2. ดำเนินการลดการใช้น้ำผ่านการปรับเปลี่ยนการดำเนินงาน เช่น การเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ที่สามารถลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิต ปรับอัตราส่วนการผลิตเพื่อลดการใช้น้ำโดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณของผลิตภัณฑ์ และการปรับปรุงอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ
  3. กำหนดเป้าหมายในการลดการใช้น้ำ
  4. นำการรีไซเคิลน้ำมาประยุกต์ใช้
  5. จัดการฝึกอบรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับพนักงานทุกคนเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการจัดการน้ำเพื่อความยั่งยืน ในเล่มรายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการประจำปี 2567 ของบริษัทฯ ได้ที่ รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการประจำปี 2567

  • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัด COD ในระบบบำบัดน้ำเสีย โดยการลด COD ในระบบบำบัดน้ำเสีย แบบเติมอากาศ ผ่านการวางแผนจัดการน้ำเข้าระบบ และทดลองการกักเชื้อ เพื่อรักษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ส่งผลให้สามารถรักษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียได้มากกว่า ร้อยละ 90
  • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการกรองสิ่งสกปรกในหอหล่อเย็น (Increase Time for Backwash Side Steam Filter) ใน Side Steam Filter จะมีระบบทำความสะอาดตัวเอง หรือที่เรียกว่า Backwash ซึ่งเป็นการชะล้างสิ่งสกปรกในหอหล่อเย็น โดยจะใช้น้ำ Clarify Water ในการชะล้าง GGC จึงมีการปรับเวลาในการเดินเครื่องเพื่อลดเวลาการชะล้าง และเป็นการลดการใช้ Clarify water ที่น้อยลง
  • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำด้วย Integrated Fixed Activated Sludge (IFAS) ซึ่งจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สำหรับจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อเพิ่มปริมาณการบำบัดน้ำเสียและค่า COD โครงการนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียและลดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการบำบัดน้ำ
  • โครงการนำน้ำที่ปล่อยจากระบบทำความเย็นมาใช้ในการผสมยูเรีย สำหรับการบำบัดน้ำเสีย โครงการนี้สามารถลดการใช้ Clarified water และลดปริมาณการใช้น้ำได้

ทั้งนี้ สามารถรับทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการดำเนินนงานด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ ได้ที่ Performance Data 2024

การประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ (Water Risk Assessment) GRI 303-1 (2018)

บริษัทฯ ประเมินความเสี่ยงด้านน้ำสำหรับสถานที่ตั้งประกอบการ เพื่อเตรียมความพร้อมกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยใช้เครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงจาก WWF Water Risk Filter และ Water Risk Atlas และข้อมูลพื้นที่ที่ความเสี่ยงด้านน้ำของประเทศไทย ที่มีการจัดทำขึ้นโดยกรมชลประทาน และดำเนินการติดตามแนวทางการรับมือในกรณีที่เกิดเหตุจำเป็นที่จะต้องลดปริมาณการใช้น้ำในการผลิตในเขตประกอบการจังหวัดระยอง และจังหวัดชลบุรี และนำมารายงานต่อผู้บริหารเพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ในการดำเนินการต่อไป

จุดเก็บตัวอย่าง / วิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบรายเดือน
พื้นที่ระยอง
  1. อ่างฯ หนองปลาไหล
  2. อ่างฯ ดอกกราย
  3. อ่างฯ คลองใหญ่
  4. อ่างฯ ประแสร์
  5. แม่น้ำระยอง
  6. ท่อดอกกราย-มาบตาพุด
  7. ท่อหนองปลาไหล-มาบตาพุด
  8. สระทับมา
พื้นที่ชลบุรี
  1. อ่างฯ หนองค้อ
  2. อ่างฯ บางพระ

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก อาทิ กลุ่ม ปตท. คณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการน้ำภาคตะวัน (Water War Room) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้น และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีน้ำเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจและไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ

GGC ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำประจำปีเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอนาคตและคุณภาพน้ำ ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ โดยใช้เครื่องมือ WWF Water Risk Filter ในการประเมิน ทั้งนี้ ความเสี่ยงด้านน้ำที่เกี่ยวข้องกับการพึ่งพาและผลกระทบยังได้รับการพิจารณาในการประเมินความเสี่ยงนี้ โดยจากผลการประเมินพบว่า GGC ไม่มีการดำเนินงานในพื้นที่ที่มีการขาดแคลนน้ำ นอกจากนี้ GGC ยังใช้ WWF Water Risk Filter เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบด้านน้ำในอนาคตในพื้นที่ดำเนินงานเพื่อพัฒนากลยุทธ์การใช้น้ำและเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจในอนาคต หลังจากพิจารณาและวิเคราะห์ผลการประเมินของความเสี่ยงทั้งสามประเภท ได้แก่ ความเสี่ยงทางกายภาพ ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ และความเสี่ยงด้านชื่อเสียง ไม่พบฐานการผลิตใดที่มีความเสี่ยงสูงในประเภทใด ๆ เหล่านี้

นอกจากนี้ GGC ยังติดตามปริมาณน้ำในระดับท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอโดยอ้างอิงจากข้อมูลของกรมชลประทาน การติดตามอย่างต่อเนื่องนี้มีความสำคัญต่อการวางแผนและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ โดยการติดตามระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด GGC มั่นใจว่าการดำเนินการของบริษัทนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่ วิธีการนี้ช่วยให้ GGC รักษาสมดุลระหว่างความต้องการในการดำเนินงานและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน

การจัดการน้ำทิ้ง (Effluent Management) GRI 303-2 (2018)

บริษัทฯ กำหนดนโยบายแผนงานด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม QSHEB เพื่อเป็นแนวทางในการติดตามและเฝ้าระวังการปล่อยน้ำเสียตลอดห่วงโซ่การผลิต อีกทั้ง มีระบบการระบายน้ำทิ้งที่สอดคล้องกับข้อกำหนดหรือข้อบังคับทางกฎหมาย อาทิ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และข้อกำหนดการระบายน้ำทิ้งเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) รวมถึงสอดคล้องตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่ระบุไว้ในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination) นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำทิ้งมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของอุตสาหกรรมโอลีโอเคมีภัณฑ์ โดยมีพารามิเตอร์ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง อาทิ ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อุณหภูมิ (Temperature) ค่าซีโอดี (Chemical Oxygen Demand: COD) ค่าบีโอดี (Biological Oxygen Demand: BOD) ค่าของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solid: TSS) น้ำมันและไขมัน (Oil and Grease) โลหะหนัก เช่น ปรอท (Hg) สารหนู(As) เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทฯ ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งตามพารามิเตอร์ข้างต้น เป็นประจำทุกวันวันละ 2 ครั้ง และรายงานในที่ประชุม เพื่อติดตามและควบคุมคุณภาพของน้ำทิ้งก่อนมีการระบายลงสู่ระบบบำบัดส่วนกลางของการนิคมอุตสาหกรรม

GGC ยังมีการดำเนินการโครงการปรับปรุงน้ำ และคุณภาพของน้ำเสียโดยอ้างอิงหลักการ Reduce, Reuse และ Recycle ซึ่งเป้าหมายของการดำเนินการนี้มีวัตถุประสงค์ในการลดประมาณการใช้น้ำและปริมาณการน้ำเสียที่เกิดขึ้นในโรงงาน และโครงการเหล่านี้ยังคงดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

การฝึกอบรมการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ (Water Efficiency training )

GGC ได้จัดการฝึกอบรมการจัดการสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานทุกคน ตามมาตรฐาน ISO 145001 ซึ่งการจัดการน้ำเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร GGC มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำภายในองค์กรเพื่อลดการใช้น้ำและเพิ่มประโยชน์สูงสุดจากการใช้น้ำ GGC ได้จัดการฝึกอบรมภายในเกี่ยวกับการจัดการน้ำ โดยใช้วิธีการ 3Rs เป็นแกนหลักของการฝึกอบรม หลักสูตรประกอบด้วย:

  1. ภาพรวมของนโยบายการจัดการน้ำที่มีอยู่ตามนโยบาย QSHE ของ GGC และมาตรฐาน ISO 145001
  2. วิธีการประยุกต์ใช้หลักการ 3Rs ในการจัดการน้ำในโรงงานและความสำคัญของการลดการใช้น้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิลในสถานที่ทำงาน
  3. การแนะนำถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการลดการใช้น้ำ

ผลการดำเนินนงานด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ (Water Management Performance)

ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567 เป้าหมาย ปี 2567
ปริมาณการใช้น้ำ (ลูกบาศก์เมตร) Water Consumption (m³) 528,422 521,654 543,076 572,111 616,993